Skip to Content

cloud Storage คืออะไร ทำไมหลายองค์กรถึงนิยมใช้ในปัจจุบัน

ระบบ cloud storage คืออะไร

ระบบ cloud storage คือการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ ซึ่งเป็นรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลที่เรียกว่า logical pool หมายความว่าการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะนี้จะเป็นการเก็บข้อมูลไว้ในเซิร์ฟเวอร์หลายๆ ตัว ซึ่งในบางครั้งอาจจะอยู่ในหลายๆ สถานที่ โดยส่วนใหญ่แล้วการให้บริการระบบ cloud storage คือการให้บริการโดยผู้ให้บริการที่เรียกว่า Host (โฮสต์) ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการรักษาข้อมูลทั้งหมดของผู้ใช้บริการ รวมถึงยังดูแลรักษาการจัดเก็บข้อมูลและระบบการประมวลผลเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลรวมถึงเรียกใช้โปรแกรม และแอปพลิเคชันต่างๆ ได้ ไม่เพียงเท่านั้น ยังรวมถึงเรื่องความปลอดภัย โดยการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิเรียกใช้ หรือเข้าถึงข้อมูลสามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลได้ ทำให้ระบบ cloud storage คือระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับองค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี เพียงแค่ต้องพิจารณาเลือกใช้ผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ มีการบริการะบบ cloud storage ที่ตอบโจทย์ความต้องการ และมีความยืดหยุ่นเพียงพอเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการใช้งานการเก็บข้อมูลขององค์กรในอนาคต 

ระบบ cloud storage ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

ระบบ cloud storage คือระบบที่เก็บข้อมูลไว้ในเซิร์ฟเวอร์หลายๆ เครื่องในระยะไกลของผู้ให้บริการ พร้อมการดูแลรักษารวมถึงระบบการรักษาความปลอดภัย ทำให้ผู้ใช้บริการประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก ทั้งในเรื่องของเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้เก็บข้อมูล เว็บไซต์ รวมถึงโปรแกรม และแอปพลิเคชันต่างๆ ที่เปิดให้ลูกค้าหรือพนักงานภายในองค์กรใช้งานได้โดยไม่ต้องมีการลงทุนด้านฮาร์ดแวร์แต่อย่างใด อีกทั้งยังเป็นการประหยัดพื้นที่ ไม่ต้องเช่า หรือหาสถานที่จัดเก็บเซิร์ฟเวอร์ ไม่ต้องเปลืองค่าไฟฟ้า ค่าแอร์ในการรักษาอุณหภูมิให้เครื่อง ไม่ต้องเสียค่าจ้างโปรแกรมเมอร์ หรือพนักงานคอยสแตนบายเพื่อดูแลรักษา และแก้ไขระบบ หรือเซิร์ฟเวอร์เมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น อีกทั้งระบบ cloud storage ยังเป็นระบบที่มีการสำรองข้อมูลไว้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ใช้องค์กรไม่ต้องเป็นกังวลว่าข้อมูลจะสูญหาย หรือเสียหายที่จะทำให้มีผลกระทบต่อธุรกิจแต่อย่างใด 

ทำไมหลายองค์กรถึงนิยมใช้ cloud storage

เพราะระบบ Cloud Storage คือการจัดเก็บข้อมูลบน Cloud ผ่านทางออนไลน์ ซึ่งเป็นการให้บริการโดยผู้ให้บริการของระบบ Cloud Storage ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการรักษาข้อมูลทั้งหมดของผู้ใช้บริการ และดูแลเรื่องการจัดเก็บข้อมูล รวมถึงระบบการประมวลผลเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านทางโปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่นได้ นอกจากนี้ยังดูแลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล สามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นที่จัดเก็บข้อมูลของบริษัทได้ ทำให้ระบบ Cloud Storage เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกเรื่องการจัดเก็บข้อมูลให้กับองค์กรทุกขนาดทั้งเล็กและใหญ่ได้เป็นอย่างดี เพียงแค่ต้องพิจารณาเลือกใช้ผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ มีการบริการระบบที่ตอบโจทย์ความต้องการ และมีความยืดหยุ่นในหลายเรื่องเพียงพอสำหรับรองรับความต้องการการใช้งานเก็บข้อมูลขององค์กรในอนาคต

ข้อดี-ข้อเสีย ของการใช้งาน Cloud Storage

ข้อดีของ Cloud Storage

1. สามารถเข้าถึงไฟล์ต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาตามที่เราต้องการเพราะเป็นการอัพโหลดไฟล์ต่างๆ ไว้บนออนไลน์

 2. ไม่ต้องกังวลว่า Flash Drive หรือ External Hard Disk จะหายหรือเสียอีกต่อไป เพราะเมื่อเก็บข้อมูลไว้บนออนไลน์ก็สามารถเรียกดูเมื่อไหร่ด้วยอุปกรณ์ใดก็ได้

 3. สามารถเพิ่มขนาดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้เรื่อยๆ

 4. สามารถตั้งค่าความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลได้ กำหนดได้ตามต้องการว่าจะแชร์หรือเปิดการเข้าถึงข้อมูลนั้นๆ ให้ใครบ้าง จึงสามารถรักษาความปลอดภัยได้ดีกว่าเดิม

 5. ปลอดภัยต่อไวรัสมากกว่าการใช้งานในรูปแบบอื่นๆ

 6. มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเพิ่มขนาดการจัดเก็บข้อมูลได้เรื่อยๆ ตามความต้องการโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่

ข้อเสียของ Cloud Storage

1. จำเป็นต้องใช้งานผ่านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเท่านั้น ถ้าไม่มีอินเตอร์เน็ตในบริเวณนั้น ก็ไม่สามารถใช้งานข้อมูลใน Cloud ได้

 2. มีค่าใช้จ่ายจากการจัดเก็บ


การเลือกผู้ให้บริการ Cloud ให้มีประสิทธิภาพ

 1. ระบบความปลอดภัย

เรื่องความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเรื่องใหญ่ของการบริหารองค์กร จึงต้องตรวจสอบรายละเอียดเรื่องนโยบายการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของให้ละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลได้ อาจจะเลือกจากผู้ให้บริการที่ได้รับมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล รวมถึงการที่ผู้ใช้บริการจะต้องสามารถควบคุมการเข้าถึงข้อมูลได้ด้วยตัวเอง และผู้ให้บริการ Cloud Storage ควรจะต้องมีการเข้ารหัสในการเข้าถึงข้อมูล เช่นการใช้ http ในการให้บริการเว็บไซต์ เป็นต้น

 2. พื้นที่ใช้งาน

ควรตรวจสอบว่าบริการที่จะเลือกใช้นั้นมีพื้นที่ให้ใช้งานเพียงพอกับความต้องการหรือไม่ คุ้มค่ากับค่าบริการที่ต้องเสียหรือไม่

 3. ฟังก์ชันการใช้งาน

ปัจจุบันมีบริการให้เลือกใช้มากมาย ผู้ใช้บริการควรเลือกใช้บริการที่มีฟังก์ชันที่สามารถตอบโจทย์ตามความต้องการของตนเองได้ เช่น สามารถสร้างเอกสารต่างๆ บน Cloud Storage ได้เลยหรือไม่ หรือสามารถแชร์ไฟล์บน Storage ไปยังแอปพลิเคชันอื่นๆ ได้หรือไม่

 4. รองรับหลายอุปกรณ์

 ปัจจุบันนอกจากคอมพิวเตอร์แล้วยังมีสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ไม่ต่างหรือเทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ จึงควรตรวจสอบว่าผู้ให้บริการ Cloud Storage ที่จะเลือกใช้นั้นสามารถรองรับการใช้งานในทุกอุปกรณ์ที่ต้องการหรือไม่


การทำงานขั้นพื้นฐานของ Cloud Storage

ทุกวันนี้มีระบบ Cloud Storage มากมายกว่า 100 แห่งที่มีรูปแบบแตกต่างกัน บางแห่งจะให้บริการชนิดเฉพาะเจาะจง เช่นให้บริการ Web e-mail message หรือ บริการจัดเก็บภาพระบบ Digital ขณะที่บางแห่งให้บริการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบ Digital ทุกชนิด Cloud Storage บางแห่งมีขนาดเล็กมีขอบเขตการให้บริการที่จำกัด แต่บางแห่งมีของข่ายการให้บริการกว้างขวาง และสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ไม่จำกัด สิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลรวมทั้งระบบ Cloud Storage เราเรียกว่า Data Center เพื่อที่จะให้บริการในระดับพื้นฐาน 

ดังนั้นระบบ Cloud Storage ต้องการ Data center เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้บริการ (ที่สมัครใช้บริการ Cloud Storage เรียบร้อยแล้ว) สามารถส่งชุดสำเนาแฟ้มข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตไปที่ Data Server ซึ่งต่อมามีการบันทึกข้อมูลไว้และเมื่อผู้ใช้บริการต้องการดึงข้อมูลออกมา ก็เพียงแต่ Access เข้าไปที่ Data Server โดยใช้Web Based interface จากนั้นตัว Server จะส่งแฟ้มข้อมูลกลับมาให้ผู้ใช้งาน หรืออนุญาตให้ผู้ใช้บริการเข้าไป Access และจัดการกับแฟ้มข้อมูลของตนได้ด้วยตนเอง 

ระบบ Cloud Storage โดยทั่วไปทำงานขึ้นอยู่กับ Data Server นับร้อย เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือServer จำเป็นต้องได้รับการดูแลบำรุงรักษา จึงจำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลข่าวสารบน Serverหลายๆ ตัว เราเรียกลักษณะนี้ว่า ระบบทดแทน (Redundancy) หากปราศจากระบบดังกล่าว ผู้ให้บริการ Cloud Storage ผู้ให้บริการจะไม่สามารถให้หลักประกันว่าผู้ใช้บริการจะสามารถเข้าถึงข้อมูลของเขาได้ในทุกๆ เวลาที่ต้องการ นอกจากนี้ระบบส่วนใหญ่จะจัดเก็บข้อมูลลงบน Server ที่มีระบบจ่ายไฟแตกต่างกัน 

โดยวิธีการเช่นนี้ผู้ใช้บริการยังสามารถเข้าถึงข้อมูลของเขาได้แม้ว่าระบบจ่ายไฟชุดหนึ่งเกิดล้มเหลวผู้ใช้บริการ Cloud Storage ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องของเนื้อที่จัดเก็บข้อมูลมีไม่เพียงพอในอนาคตเนื่องจากเนื้อที่จัดเก็บมีมากมายมหาศาล นอกจากนี้ผู้ใช้Cloud Storage ยังสามารถใช้เป็นที่ทำสำเนาข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดความเสียหาย หรือสูญหาย ก็ยังสามารถดึงข้อมูลที่อยู่ใน Cloud Storage ออกมาใช้งานได้